ระเบียบและข้อบังคับ
ชมรม ต้นกล้า
ร่วมใจจิตอาสา
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ลักษณะที่ ๑
บททั่วไป
หมวดที่ ๑ ชื่อ บทนิยาม
เครื่องหมาย และสถานที่ตั้ง
ข้อที่
๑
ชมรมนี้ชื่อว่า “ชมรมต้นกล้า ร่วมใจจิตอาสา”
ชื่อย่อว่า “ ชตอ.
”
ข้อที่
๒
เครื่องหมายชมรมต้นกล้าร่วมใจ จิตอาสา
ข้อที่
๓ ชมรมมีที่ตั้ง ณ 133 ถ.เทศบาล 3 ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา (มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา )
ข้อที่
๔ ในระเบียบและข้อบังคับนี้
(๑)
มหาวิทยาลัย หมายถึง “มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา”
(๒) ชมรม หมายถึง “ชมรมต้นกล้า ร่วมใจจิตอาสา”
(๓) สีทั้ง 3 สี คือ แดง ขาว น้ำเงิน หมายถึง สัญลักษณ์บ่งบอกว่าธงชาติไทย
ซึ่งหมายความหมายทุกคนที่อยู่ไม่ว่าศาสนาใด ถือเป็นคนไทยทั้งปวง
(๔)
สีเขียวและขาว หมายถึง ความร่มเย็นและความใสบริสุทธิ์
(๕)
หัวใจสีชมพูและมนุษย์ที่อยู่ด้านในหัวใจ หมายถึง
ความรักความสามัคคีที่สมาชิกชมรมมอบให้กันและกันและชมรมสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมโดยเป็นความหลายในสังคม
ดั่งสุภาษิตที่ว่า ‘แตกต่าง แต่ไม่แตกแยก’
(๖) สองมือ
หมายถึง การลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ เพื่อบ่มเพาะความเป็นต้นกล้าที่มีใจรักจิตอาสาและแข็งแกร่ง
สามารถเติบโตไปพัฒนาสังคมต่อไป
หมวดที่ ๒ วัตถุประสงค์
ข้อที่
๕ ชมรมนี้มีวัตถุประสงค์ คือ
(๑) ให้นักเรียน/นักศึกษามีจิตสาธารณะตลอดจน เสริมทักษะความเป็นผู้นำ โดยเริ่มจากเพาะเมล็ดพันธ์ ตลอดจนเป็นต้นกล้าที่แข็งแกร่งสมบูรณ์สง่างาม
(๒) สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษากับชุมชน
(๓) สร้างความรู้และประสบการณ์ภายนอกห้องเรียนแก่นักศึกษา
(๔) ให้นักศึกษาสามารถทำงานและอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม
(๕) ให้นักศึกษาเรียนรู้การทำงานเป็นหมู่คณะ
และการแก้ปัญหาร่วมกัน
(๖) ให้นักศึกษาได้ร่วมกลุ่มกันทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองต่อสังคมและห่างไกลยาเสพติด
(7) ให้ชมรมได้มีการสร้างเครือข่ายกับองค์กรหรือชมรมอื่นๆให้เป็นมิตรสัมพันธ์ที่ดีร่วมกัน
(๘)
สร้างเมล็ดพันธ์ที่มีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
ลักษณะที่ ๒
สมาชิก
ข้อที่
๖ คุณสมบัติสมาชิกชมรมมี ดังนี้
เป็นนักศึกษาภาคปกติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
เป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่
ชั้นปี 1
- 5
เป็นนักศึกษาที่ไม่ได้ถูกพักการเรียน
เป็นนักศึกษาที่มีรายชื่อในบอรด์บริหารชมเดียวเท่านั้น
ข้อที่ ๗ บทบาทหน้าที่และสิทธิของสมาชิก
(๑)
สมาชิกชมรมมีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการบริหาร หรือเจ้าหน้าที่อื่นๆในชมรม
(๒) เข้าร่วมประชุม
และร่วมจัดกิจกรรมของชมรมร่วมกัน
(๓) สมาชิกชมรมมีสิทธิ์เสนอความคิดเห็น
หรือคัดค้านการดำเนินกิจกรรมของชมรมได้
(๔) สมาชิกชมรมมีสิทธิ์ขอตรวจสอบเอกสารใด
ๆ ที่อยู่ในความครอบครองของ คณะกรรมการคนใดคนหนึ่ง
หรือทั้งคณะได้ เมื่อมีเหตุผลหรือพฤติกรรมอันควรสงสัยว่ากรรมการคน หนึ่งคนใด
หรือทั้งคณะมีการดำเนินการอันไม่สุจริตหรืออาจ
(๕)ได้รับสิทธิประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของชมรม
ข้อที่
๘ การพ้นจากการเป็นสมาชิก
(๑) จบการศึกษา หรือพ้นสภาพการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
(๒) เสียชีวิต
(๓)
ลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อประธานชมรม
(๔) คณะกรรมการมีมติเห็นควรให้ออก
(๕)
หมดสภาพการเป็นนักศึกษา
ลักษณะที่ ๓
คณะผู้บริหาร
ข้อที่
๙ คณะกรรมการบริหาร มีทั้งหมด
25 คน ประกอบด้วย
(๑) ประธานชมรม
(๒) รองประธานกรรมการ 1
คน ประกอบด้วย
๑.
รองประธานฝ่ายบริหาร
๒. รองประธานฝ่ายกิจกรรม
๓. รองประธานฝ่ายพัฒนาชมรม
(๓) เลขานุการ 2
คน
(๔) เหรัญญิก 2 คน
(๕) กรรมการ 16 คน
ข้อที่
๑๐ อำนาจคณะผู้บริหารมี ดังนี้
(๑) บริหารงานทั่วไปของชมรม
(๒) ประธานชมรมมีอำนาจสูงสุดในการตัดสินใจในทุกเรื่อง
(๓) กำหนดนโยบาย แนวทางการดำเนินงานและงบประมาณของชมรม
(๔) ควบคุมการเงินและทรัพย์สินของชมรม
(๕) ดำเนินการตามมติที่ประชุม
(๖) ดำเนินกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของชมรม
(๗) กำหนดกฎระเบียบการดำเนินกิจกรรมของชมรม
(๘)
จัดประชุมคณะกรรมการและอนุกรรมการ รวมทั้งสมาชิกชมรมตามความเหมาะสม
(๙)
รายงานผลการดำเนินงานแต่ละกิจกรรมให้คณะกรรมการและสมาชิกรับทราบ
ข้อที่
๑๑ การพ้นจากการเป็นคณะบริหาร
(๑) หมดวาระ หรือพ้นสภาพการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
(๒) เสียชีวิต
(๓) คณะกรรมการมีมติเห็นควรให้ออก
(4) ไม่สนใจและไม่เข้าร่วมกิจกรรมของชมรม
ลักษณะที่ ๔
การดำเนินการจัดหาทุน
ข้อที่
๑๒ ชมรมอาจหาทุนดำเนินการได้ ดังนี้
(๑) จากเงินบำรุงของสมาชิก
(๒)
จากเงินอุดหนุนหรือทรัพย์สินที่มีผู้ออกให้
(๓) จากการจัดหารายได้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม
(๔) จากหน่วยงานภายนอกที่สนับสนุน โครงการตามวัตถุประสงค์ชมรม
(๕)
จากมหาลัยราชภัฎยะลา
ข้อที่
๑๓
สมาชิกชมรมต้องจ่ายเงินบำรุงเป็นค่าสมาชิกให้แก่ชมรมปีละ ๓๐ บาท / คน
หรือตามที่
คณะกรรมการบริหารเห็นสมควร แต่ไม่เกิน ๑๐๐
บาท / คน
ข้อที่
๑๔ ชมรมอาจรับเงินอุดหนุนหรือทรัพย์สินของทางราชการหรือเอกชน
การรับเงินอุดหนุน หรือทรัพย์สินเช่นว่านั้นต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชมรม
และมหาวิทยาลัย
ลักษณะที่ ๕
ข้อปฏิบัติและข้อห้ามของชมรม
ข้อที่
๑๕ การดำเนินกิจกรรมของชมรมให้อยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุขและอาจารย์ที่ปรึกษาชมรมทุกครั้งต้องได้รับความเห็นชอบ
ข้อที่
๑๖ ห้ามกระทำการใดๆที่อาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
และสถาบันอื่นๆ รวมทั้งมหาวิทยาลัย และชมรม
ข้อที่
๑๗ คณะผู้บริหารและสมาชิกไม่มีอภิสิทธิในการกระทำใดๆเหนือรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
ข้อที่
๑๘ ห้ามกระทำการใดๆ
โดยแอบอ้างชื่อมหาวิทยาลัยและชมรมโดยไม่ได้รับอนุญาต
ข้อที่
๑๙ ให้ความสำคัญและเคารพสิทธิของผู้อื่น
ข้อที่
๒๐ ไม่ดูถูก เหยียบหยาม
หรืออคติต่อผู้อื่น ไม่ว่าจะมีศาสนา หรือวัฒนธรรมใด
ข้อที่
๒๑ ให้การช่วยเหลือผู้อื่นที่ร้องขอ
หรือจำเป็นต้องช่วยเท่าที่มีความสามารถ
ข้อที่
๒๒ ปฏิบัติตัวเป็นพลเมืองที่ดี
เพื่อเป็นแบบอย่างแก่สังคม
ลักษณะที่ ๖
บทสุดท้าย
ข้อที่
๒๓
การแก้ไขระเบียบและข้อบังคับนี้จะกระทำได้โดยมติกรรมการบริหารมีเสียงสนับสนุนเกินครึ่งของกรรมการชมรมทั้งหมด
ข้อที่
๒๔ ให้ประธานชมรมเป็นผู้รักษาการตามระเบียบและข้อบังคับนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น